วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

หน่วยการเรียนรู้ที่8 เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

ความหมายของสื่อ
เมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium")
คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"
นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้
Heinich และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร"
A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
การแบ่งประเภทของสื่อ
การแบ่งประเภทของสื่อ นักวิชาการได้แบ่งไว้หลายรูปแบบ ได้แก่
1. แบ่งประเภทของสื่อออกเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
1.1 สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ ภาพถ่าย
1.2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์
2. แบ่งประเภทของสื่อออกเป็นสื่อที่รับรู้โดยการฟังหรือสื่อโสต การเห็นหรือสื่อทัศน์ และทั้งการฟังและการมองเห็นหรือสื่อโสตทัศน์ ดังนี้
2.1สื่อโสต (Audio Media ) ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง เทป
2.2 สื่อทัศน์ ( Visual Media) ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ ภาพถ่าย
3. แบ่งประเภทของสื่อเป็นสื่อร้อนและสื่อเย็น ดังนี้
3.1 สื่อร้อน (Hot Media) สื่อที่นำสารส่งไปยังผู้รับสาร และผ฿้รับสารไม่ได้มีส่วนร่วมในการส่งสารเลย ผู้รับสารไม่ต้องใช้ความพยายามใด เพื่อให้ได้สารที่สมบูรณ์ เพราะมีคนจัดคอยดูแลให้ เช่น ภาพยนตร์ มีช่างเทคนิคของโรงภาพยนตร์ได้จัดการฉายให้ชม เป็นต้น
3.2 สื่อเย็น (Cool Media) คือ สื่อที่นำข่าวสารไปยังผู้รับ โดยบางครั้ง ผู้รับสารจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการพยายามให้ได้ข่าวสารที่สมบูรณ์ เช่น วิทยุโทรทัศน์ภาพล้ม ผู้ชมต้องปรับภาพ เป็นต้น
4. การแบ่งประเภทของสื่อโดยธรรมชาติในการนำสาร ดังนี้
4.1 สื่อวัจนะ ได้แก่ สื่อที่นำสารในลักษณะที่เป็นภาษาพูด ภาษาเขียน เช่น การพูด การเขียน ทางสื่อมวลชนต่าง ๆ เป็นต้น
4.2 สื่ออวัจนะ ได้แก่สื่อที่นำสารซึ่งไม่เป็นภาษาพูด แต่เป็นสัญลักษณ์ เครื่องหมาย (Signs) และอากัปกิริยา การเคลื่อนไหวของร่างกาย ริมฝีปาก การแสดงออกบนใบหน้า นัยน์ตา การขมวดคิ้ว การใช้สัญญาณมือ การสัมผัส การใช้สัญญาณไฟ การตีเกราะ กลอง การยิงพลุเพื่อขอความช่วยเหลือของผู้ที่รอดชีวิตจากเครื่องบินตก หรือเรืออับปราง สัญญาณจราจร ป้ายทางเข้าออก ทางไปห้องน้ำชาย หญิง ฯลฯ นอกจากนั้น ยังมีสื่อวัฒนธรรมหรือสื่อพื้นบ้าน เช่น ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ดนตรี การแต่งกาย และสื่อทัศนศิลป์
5. การแบ่งประเภทของสื่อ ตามรูปแบบและสถานการณ์การสื่อสาร สามารถแบ่งสื่อได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
5.1 สื่อภายในบุคคล ( Intrapersonal Communication) เป็นการสื่อสารกับตนเอง หรือการส่งสารของบุคคลคนเดียว แต่ละบุคคลมีการสื่อสารภายในตนเองทุกคน เนื้อหาสาระในการสื่อสารมาจากประสบการณ์ ข่าวสาร และข้อมูลที่แต่ละคนได้รับ ตัวบุคคลจึงนับได้ว่าเป็นสื่อหรือช่องทางในการสื่อสารกับตนเอง หรือการสื่อสารภายในบุคคล
5.2 สื่อระหว่างบุคคล ( Interpersonal Communication) การสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นรูปแบบของการสื่อสารตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สื่อที่ใช้ในการสื่อสารประเภทนี้ คือ สื่อบุคคล บุคคลได้มีการพูดกันอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ได้ติดต่อสื่อสารกันทางจดหมาน โทรเลข โทรศัพท์ โทรพิมพ์ เทเลคอมเฟอเร็นซ์ การสื่อสารระหว่างบุคคลนั้น ผู้ส่งสารรู้แน่ชัดว่าเป็นกลุ่มใด ผลสะท้อนกลับจากผู้รับสารก็มีได้ง่ายกว่า สื่อหรือช่องทางการสื่อสารสามารถใช้นำสารได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
5.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการแบ่งประเภทสื่อโดยอาศัยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสเป็นหลัก คือ
1. สื่อที่รับได้ด้วยการมองเห็น หรือสื่อทัศน์ (Visual Media) ได้แก่ หนังสือพิมพ์ (Newspaper) ภาพถ่าย( Photography)
2. สื่อที่รับได้ด้วยการฟัง (Audio Media) หรือสื่อโสต ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง
3. สื่อไที่รับได้ด้วยการฟังและการมองเห็น หรือสื่อโสตทัศน์ (Audio-Visual Media) ผู้รับสารรับสารโดยการมองเห็นและการได้ยินพร้อม ๆ กัน ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดิโอ (Video) วีดิโอดิส ( Videodise) การแสดงบนเวที ( Theatre) เช่น ละคร ดนตรี อุปรากร การฟ้อนรำ เป็นต้น
6. การแบ่งประเภทของสื่อเป็นสื่อสนับสนุน ( Supporting Channels) แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
6.1 สื่อสนับสนุนในการบันทึกข่าวสาร คือ โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับการพิมพ์ การบันทึกเสียง การบันทึกภาพ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องพิมพ์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง กล้องถ่ายรูป และวัสดุรองรับสาร ได้แก่ กระดาษ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ฟิล์ม แผ่นเสียง เป็นต้น
6.2 สื่อสนับสนุนในการขนส่งข่าวสาร คือ โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบการคมนาคม (Transportation) และบริการไปรษณีย์ ( Postal Services) ได้แก่ เครือข่ายของเส้นทางคมนาคมทางบก ทางอากาศ ทางเรือ ยานพาหนะ บริการส่งจดหมาย และไปรษณีย์ภัณฑ์ อื่น ๆ
6.3 สื่อสนับสนุนในการถ่ายทอดข่าวสาร เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้การถ่ายทอดข่าวสาร ( Transmission of messages) จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบสาย ระบบวิทยุ ระบบแสง และระบบสื่อสารดาวเทียม ซึ่งอาจเรียกรวมกันว่า การสื่อสารโทรคมนาคม” (Telecommunication) หรือสื่อส่งสัญญาณ (Transmission Media) ได้แก่ โทรเลข ดทรศัพท์ โทรพิมพ์ โทรภาพ โทรสาร โทรทัศน์ตามสาย วิทยุคมนาคม เป็นต้น
ในที่นี้ จะพิจารณาเรื่องสื่อ ตามเหตุการณ์ท่างการสื่อสารตามลำดับ ( Chronology of Communication Events)

หน่วยการเรียนรู้ที่8 เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

1.หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีการแข่งขันทั้งด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การศึกษา ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ให้ทัดเทียมและยั่งยืนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ พัฒนาเศรษฐกิจ สามารถสร้างอำนาจต่อรองกับนานาอารยะประเทศได้ การพัฒนาด้านการศึกษาและการวิจัยเป็นส่วนสำคัญมากที่สุด สามารถส่งผลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างและนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดมาใช้งาน ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในปัจจุบัน เป็นไปในรูปแบบก้าวกระโดด มีผลผลักดันทางด้านการศึกษา วิจัยและพัฒนาในหมู่อาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยภายในประเทศ ในปัจจุบันการพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (Information Communication Technology) ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบัน การศึกษาและกับประเทศต่าง ๆ คือปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนในการรักษาสมดุลของสถานะระบบเครือข่ายเทคโนโลยี สารสนเทศ ระบบเครือข่ายข้อมูล และระบบเครือข่ายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความตื่นตัว สามารถปรับปรุงและพัฒนาได้ตลอดเวลา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนา การศึกษา (Inter-University Network : UniNet) โดยเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายความเร็วสูงระหว่าง มหาวิทยาลัย/สถาบัน และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ภายในประเทศ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชุมชน เป็นการแบ่งปันทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน และได้ดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา ทั้งทางด้านการเรียนการสอน และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันระหว่าง มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ต่าง ๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกที่เชื่อมต่ออยู่บนเครือข่ายดัง กล่าว การประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสมาชิกเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาเป็นการ แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ ในการดูแลระบบและบริหารจัดการเครือข่ายที่จะต้องใช้งานร่วมกัน ซึ่งนอกจากการได้แลกเปลี่ยนข้อมูลแล้วยังจะเป็นโอกาสอันดีที่บุคลากรผู้ ปฏิบัติหน้าที่จะได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครือข่ายใหม่ ๆ รวมทั้งการรวมกลุ่มกับเพื่อนสมาชิกเพื่อทำการศึกษาและวิจัย และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสนับสนุนการศึกษา และยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษากับเครือข่าย การศึกษาและวิจัยนานาชาติเกิดประโยชน์สูงสุด จึงจำเป็นต้องให้บุคลากรของสถาบันที่เป็นสมาชิกเครือข่ายสารสนเทศเพื่อ พัฒนาการศึกษา (UniNet) รับทราบข้อมูลของเครือข่ายการศึกษาและวิจัยนานาชาติ ทั้งในด้านเครือข่ายสารสนเทศและเนื้อหา (Content) บนเครือข่ายฯ ตลอดจนกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาของสถาบันสมาชิกเครือข่าย

หน่วยการเรียนรู้ที่8 เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรมบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet)
2.2 เพื่อศึกษาวิจัย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
2.3 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายระหว่างกลุ่มสมาชิก
2.4 เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ ถ่ายทอดความร ู้และประสบการณ ์และความเชี่ยวชาญ ในด้านเทคโนโลยีเครือข่าย
Hardware and Software
3. หัวข้อการประชุมเชิงปฏิบัติการ
3.1 นำเสนอผลงานวิจัยของอาจารย์ และนักวิจัย ทั้งในมหาวิทยาลัย/สถาบันภายในประเทศ และต่างประเทศ
3.2 อภิปรายกำหนดแนวทางของกลุ่มในการดำเนินกิจกรรมของสมาชิกบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (
UniNet)
3.3 อภิปรายและประชุมกลุ่มย่อยในการสร้างความร่วมมือ
3.4 นำเสนอแผนการดำเนินงานและผลงานของกลุ่ม
3.5 นำเสนอผลงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย/ สถาบัน
3.6 อบรมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่าย

หน่วยการเรียนรู้ที่8 เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

·          4. วิธีการดำเนินงาน
4.1 ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา" และร่วมกันอภิปรายเพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
4.2 นำเสนอผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่าย
4.3 การบรรยายพิเศษ
4.4 อภิปรายทางวิชาการ
4.5 การประชุมสัมมนา
4.6 การประชุมกลุ่มย่อย
4.7 รายงานนำเสนอผลงานการวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มและมหาวิทยาลัย/ สถาบัน
5. ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ
จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวนประมาณ 800 คน ประกอบด้วย
5.1 ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง 74 คน
5.2 ผู้อำนวยการสำนัก/ศูนย์คอมพิวเตอร์/สำนักหอสมุด 106 คน
5.3 ผู้เข้าร่วมประชุมจากมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐ และเอกชน 450 คน
5.4 วิทยากร 70 คน
5.5 คณะทำงานจัดการประชุมฯ 100 คน
6. ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 3 วัน ระหว่างวันที่ 27-29 กรกฎาคม 2554
7. สถานที่จัดงานณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายและมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
8.2 ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเครือข่าย
Hardware and Software จากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
8.3 สามารถกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรมของสมาชิกบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา


หน่วยการเรียนรู้ที่8 เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ผศ. ดร. นันทกานต์ วงศ์เกษม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และ รศ. ดร. สุนันทา กิ่งไพบูลย์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับเชิญเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย ให้แก่กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศ กระทรวงกลาโหม โดยมี พลอากาศตรี ชัยย์ณรงค์ โพธิ์น้อย รองเจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอาวกาศกลาโหม เป็นประธาน ซึ่งในการนำเสนอผลงานวิจัยในครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายการสร้างเครือข่ายงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ของกระทรวง ICT โดยความร่วมมือกับ คุณไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดย ผศ.ดร.นันทกานต์ หัวหน้าโครงการ ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อวัสดุแม่เหล็กไฟฟ้าสังเคราะห์และการประยุกต์ใช้ หรือ “Metamaterials  and Applications” โดยได้นำเสนอการประยุกต์ใช้ของวัสดุแม่เหล็กไฟฟ้าสังเคราะห์ในงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศเน้นที่ความมั่นคง และความปลอดภัยในการสื่อสารข้อมูล เช่น การสร้างวัสดุเคลือบเพื่อสร้างวัสดุล่องหน การควบคุมการส่งข้อมูลในอุปกรณ์การสื่อสาร การออกแบบอุปกรณ์สื่อสารในช่วงความถี่เฉพาะที่ต้องการ การสร้างวัสดุป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความถี่ที่เจาะจง เป็นต้น ทั้งนี้ ได้แสดงผลงานการออกแบบเบื้องต้นที่ได้ร่วมทำงานวิจัยกับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ประกอบด้วย นายอมรเทพ สอนศิลพงศ์ นายวรา ป้านประดิษฐ์ นายมนตรี มาลาทอง นายชัยยงค์ เสริมผล และนายประวิทย์ บัวพันธ์ โดยทางกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศ กระทรวงกลาโหมได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และจะร่วมสนับสนุนการทำวิจัยในอนาคต ทั้งนี้ รศ. ดร. สุนันทา ได้กล่าวสรุป และแสดงนโยบายของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการส่งเสริมการวิจัย เพื่อนำไปใช้งานได้จริง รวมทั้งการพัฒนาอุปกรณ์ และเครื่องมือให้หน่วยงานของรัฐบาล เพื่อสร้างความเข้มแข็งที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป